WEEK 52
24-31 ธ.ค.

“ธนวัฒน์ สุขัคคานนท์”

THANAWAT

บ้านที่ดีคือบ้านที่อยู่แล้วเป็นสุข ซึ่งก็คือ การออกแบบสภาพแวดล้อมให้มีความใกล้ชิดกับ “ธรรมชาติของตัวเรา” มากที่สุด...คำว่า ธรรมชาติในที่นี้ ไม่ใช่ธรรมชาติสีเขียวข้างนอก แต่หมายถึง สภาพแวดล้อมและบรรยากาศที่เป็นตัวเอง

อ่านต่อ
WEEK 51
17-23 ธ.ค.

“ชวนะ ช่างสุพรรณ”

CHAVANA

“แต่งบ้านไม่ต้องตามเทรนด์” แต่ให้ถามใจตัวเองดูว่าชอบอะไรยังไง และควรดูสัดส่วนหรือยังว่าถ้ามาอยู่ใน Space ของเราแล้วจะเป็นอย่างไร ซึ่งเป็นเรื่องที่เราต้องทำการบ้านก่อนมาเลือกซื้อเฟอร์นิเจอร์ คือไม่ใช่แค่มาเดินดูแล้วเห็นว่า โซฟาตัวนี้สวยดี เหมาะกับบ้านเราแน่ๆ แล้ว ปรากฏว่าเลือกไปแล้วโซฟาตัวนี้ถูกตั้งโชว์ไว้เฉยๆ โดยไม่เคยนั่งเลย เพราะตอนซื้อไม่ได้ลอง พอต้องนั่งใช้งานจริงๆ แล้ว ถึงรู้สึกว่านั่งไม่สบายหรือไม่เหมาะกับสรีระของเรา

อ่านต่อ
WEEK 50
9-16 ธ.ค.

“คุณยุทธนา จันทร์ผ่อง”

YUTTHANA

สำหรับธุรกิจโรงแรม หัวใจหลักของธุรกิจโรงแรม คือการบริการ สิ่งสำคัญในการวางผัง คือ ทำอย่างไงให้พนักงานเข้าถึงตัวลูกค้า (เพื่อให้บริการหรือให้การช่วยเหลือ) ได้เร็วที่สุด เช่น เคาน์เตอร์ต้อนรับ แทนที่จะทำเป็นเคาท์เตอร์ยาวๆ ซึ่งจะเกิดปัญหาว่า กว่าพนักงานจะเดินออกไปได้ก็ค่อนข้างใช้เวลา ซึ่งเป็นสิ่งที่กระทบต่อเรื่อง Service ดังนั้น ก็ควรปรับเคาน์เตอร์ให้สั้นลง เพื่อให้พนักงานสามารถเดินออกไปถึงตัวลูกค้าได้สะดวกและทันใจลูกค้า

อ่านต่อ
WEEK 49
3-9 ธ.ค.

“พีรภัทร สินธพนำชัย”

PHIRAPHAT

Leaning Space สำหรับเด็ก แต่ละที่จะมีหลักสูตรหรือจุดเน้นที่แตกต่างกัน ซึ่งคนที่ส่งลูกเรียนโรงเรียนแบบนี้ เวลาที่เด็กกลับไปบ้าน คุณพ่อคุณแม่ก็ต้องส่งเสริมให้ลูกได้เรียนรู้ขณะอยู่ที่บ้านด้วย เพื่อให้เด็กเข้าใจทั้งหมด ไม่ใช่ว่ากลับบ้านแล้วเด็กไม่ต้องทำอะไรเลย

อ่านต่อ
WEEK 48
26 พ.ย.-2 ธ.ค.

“นพชัย อรรฆยะพิศุทธิ์”

NOPPACHAI

การปรับพื้นที่บ้านจัดสรร สิ่งที่พอจะทำได้คือ 1.ปรับฟังก์ชั่น โดยไม่ต้องต่อเติมก็ได้ แต่ให้ลองดูว่ามีพื้นที่อะไรเหลือและพอจะปรับเปลี่ยนไปทำอะไรได้บ้าง 2.ดึงแสงธรรมชาติเข้ามาให้มากที่สุด ซึ่งโดยส่วนมากบ้านจัดสรรจะให้หน้าต่างบานเล็ก เราก็อาจจะทำการทุบผนังออก แล้วใส่หน้าต่างใหญ่เข้าไป เพื่อเปิดมุมมองไปยังธรรมชาติด้านนอกและได้แสงเข้ามามากขึ้น

อ่านต่อ
WEEK 47
19-25 พ.ย.

“นนท์ โกมลสุทธิ์”

NONT

Space ที่ควรมีในบ้าน ก็คือพื้นที่ที่สามารถตอบโจทย์ความต้องการของคุณได้มากที่สุด บางคนชอบแต่งตัวมาก และใช้เวลาแต่งตัวครั้งละหลายชั่วโมง บางทีการมีแพนทรีอยู่ในห้องแต่งตัว อาจเป็นฟังก์ชั่นหรือพื้นที่ที่คุณต้องการ เผื่อคุณหิวจะได้มีอะไรทานเวลาพักเบรกระหว่างการลองชุด ลองกระเป๋า เป็นต้น ดังนั้น น่าจะเริ่มต้นจากการทำความเข้าใจตัวเองก่อน เพื่อดูว่าแท้จริงๆ แล้ว ในบ้านของคุณควรมีฟังก์ชั่นแบบไหนเพิ่มเติม เพื่อที่จะช่วยตอบโจทย์ความต้องการของคุณได้อย่างแท้จริง

อ่านต่อ
WEEK 46
12-18 พ.ย.

“วัชรวิชญ์ ชื่นธีระวงศ์”

PURE

Hidden Cost ในงานรีโนเวท จะซ่อนอยู่เยอะในงานระบบ เวลาที่เราเห็นภาพสวยๆ เราไม่มีทางรู้หรอกว่าเบื้องหลังเขาทำอะไรมาบ้าง สิ่งที่ซ่อนอยู่ คือ งานระบบซึ่งเปรียบเหมือนเส้นเลือด เช่น พวกสายไฟ ท่อน้ำ แม้ว่ามันจะไม่ออกมาเป็นความสวยงาม แต่คุณต้องเตรียมงบสำหรับตรงนี้ไว้ประมาณ 30-40% และยิ่งถ้าอาคารนั้นเป็นอาคารเก่ามาก หาที่มาที่ไปของแบบเดิมไม่เจอ ก็มีความเสี่ยงเรื่องโครงสร้างที่จะไม่ Support งานระบบก็จะเยอะขึ้นเป็นหลายเท่า

อ่านต่อ
WEEK 45
5-11 พ.ย.

“ฐิตาภา ชูศิลป์กุล”

THITAPHA

เมื่อคิดจะรีโนเวทบ้าน ให้ถามตัวเราก่อนว่าอยากทำไปในรูปแบบไหน ไม่มีคำว่าถูกหรือผิด เพราะมันคือสิ่งที่เราอยากให้เป็น มันคือที่ของเรา ก็ให้ทำในแบบที่เราสบายใจ แต่ถ้าเป็นอาคารเก่าที่ต้องทุบต้องเจาะ ต้องดูเรื่องโครงสร้างอาคารให้ดี ความปลอดภัยต้องมาที่หนึ่ง เพราะบางทีมันมีข้อจำกัดเรื่องพื้นที่ เราก็จะรู้ว่าฟังก์ชั่นที่เราต้องการนั้นจะไปได้สุดแค่นี้

อ่านต่อ
WEEK 44
29 ต.ค.-4 พ.ย.

“อรรถสิทธิ์ กองมงคล”

ATTASIT

ความสุขใน “บ้าน” บางครั้งอาจไม่ใช่อะไรหวือหวา แค่เราเห็นบ้านที่ถูกจัดสรรอย่างเป็นระเบียบ สะอาด มีต้นไม้ร่มรื่น เรากลับ รู้สึกว่าภาวะแบบนี้ช่างมีความสุขเหลือเกิน...ก็เลยอยากแนะนำว่า จริงๆ แล้วทุกคนสามารถที่จะสร้างพื้นที่แบบนี้ด้วยตัวเองได้ โดยเริ่มต้นง่ายๆ ด้วยการจัดระเบียบหมวดหมู่สิ่งของต่างๆ จัดลำดับความสำคัญในการใช้งานและให้เหมาะสมกับการใช้พื้นที่ “ความเป็นระเบียบ หรือ การถูกจัดวางอย่างดี” เป็นสิ่งที่สร้างเสน่ห์ให้พื้นที่

อ่านต่อ
WEEK 43
22-28 ต.ค.

“เชิงชาย เรียวเรืองแสงกุล”

CHERNGCHAI

“บันได” ที่ใช้ภายในบ้าน ปกติจะมีขนาดตามมาตรฐานที่ต้องเดินสบาย แต่แทนที่เราจะออกแบบให้มีระยะที่พอดีเท้าเพื่อให้การก้าวเท้าเดินได้ต่อเนื่องรวดเร็วที่สุด ในทางกลับกัน ความเร็วของการเดินอาจจะทำให้เราพลาด “ประสบการณ์ระหว่างบันได” ไปด้วยก็ได้ ดังนั้น การออกแบบบันไดที่ให้ยาวขึ้นในระยะที่เหมาะสม คือเดินไม่สะดุด แต่ให้มีจังหวะที่ยั้งตัวเอง “ให้มีเวลากับบันไดและการมองเห็นทิวทัศน์ของบ้านไปด้วย” น่าจะเป็นความรื่นรมย์ของคนอยู่บ้านได้อีกอย่างหนึ่ง

อ่านต่อ
WEEK 42
15-21 ต.ค.

“เศรษฐการ ยางเดิม”

SETTHAKARN

หากตัวบ้านอยู่ในทิศที่ไม่เหมาะสม เช่น ทิศใต้ที่แดดแรง เราอาจแก้ปัญหาพื้นที่ด้วยการใช้ฟังก์ชั่นบางอย่างภายในบ้าน เช่น บันได ซึ่งเป็นพื้นที่ที่เราใช้เวลากับมันน้อยที่สุด เพราะปกติเราจะใช้เป็นทางสัญจรผ่านไปมา ก็แนะนำให้จัดพื้นที่ส่วนนี้ไปบล็อกแดด...ง่ายๆ ก็คือ พื้นที่ที่เราไม่ได้ใช้งานเป็นประจำ แบบที่ไม่ได้แช่อยู่กับมันเกิน 15 นาที ก็สามารถใช้ฟังก์ชั่นนี้ไปกันความร้อนได้

อ่านต่อ
WEEK 41
8-14 ต.ค.

“รินระดา นิโรจน์”

RINRADA

“การเลือกเฟอร์นิเจอร์” เป็นเรื่องค่อนข้างสำคัญ เพราะจะเป็นสิ่งที่อยู่กับเราไปอีกนาน ไม่ใช่แค่ 2-3 เดือน แต่เป็นหลักสิบปี ไม่ใช่อะไรที่จะเปลี่ยนได้บ่อยๆ เรามักจะบอกลูกค้าว่า “คุณควรลงทุนกับเฟอร์นิเจอร์” ที่คุณรู้สึกว่าไปลองนั่งลองสัมผัสแล้วชอบ และควรเป็นเฟอร์นิเจอร์ที่มีมาตรฐาน ของที่ดีมีคุณภาพ ราคาก็อาจจะมากกว่าของทั่วไปอยู่สักหน่อย แต่มันจะให้อายุการใช้งานที่ยาวนานกว่าและคุ้มค่ากว่า

อ่านต่อ
WEEK 40
1-7 ต.ค.

“กศินร์ ศรศรี”

KASIN

“ทิศตะวันตกและทิศใต้จะร้อน” แทนที่จะเอาห้องที่เปิดหน้าต่างไปไว้ทางด้านนั้น ก็ควรเอาห้องน้ำ ห้องแต่งตัวที่มีเสื้อผ้าเยอะ หรือส่วนตากผ้าไปไว้ตรงนั้นแทน เพื่อให้โดนแดด ให้แดดฆ่าเชื้อให้เรา เหมือนว่าเราควรเลือกใช้ข้อดีของธรรมชาติที่มีให้เหมาะสมกับการใช้ชีวิต โดยออกแบบให้สอดรับกับสภาพภูมิอากาศ ภูมิประเทศ และบริบทของพื้นที่ เพราะเราสู้กับธรรมชาติไม่ชนะหรอก แต่จะอยู่ร่วมกับเขาอย่างฉลาดได้อย่างไร...แค่นั้นเอง

อ่านต่อ
WEEK 39
24-30 ก.ย.

“บดินทร์ เมืองลือ”

BODIN

เวลาจะสร้างบ้านใหม่ แนะนำให้คุณใช้เวลาทบทวนในสิ่งที่จะสร้างหรือลงทุนกับตัวอาคารให้มากที่สุดครับ อยากให้คิดถึง Space การใช้งานเป็นหลัก ไม่ใช่แค่อยากได้กี่ห้องนอน กี่ห้องน้ำ เพราะสิ่งที่สำคัญมากกว่าเรื่องของฟังก์ชั่นคือความชอบ โดยควรจะต้องตั้งโจทย์กับตัวเองหลายๆ โจทย์ เช่น ชอบอยู่กับวัสดุแบบไหน หรือมีความสุขที่จะได้อยู่ ได้เห็น หรือได้สัมผัสกับวัสดุแบบไหน แล้วพยายามสื่อสารให้สถาปนิกหรือช่างทราบให้มากที่สุด

อ่านต่อ
WEEK 38
17-23 ก.ย.

“วรัญญู มกราภิรมย์”

WARANYU

สิ่งที่ทำให้ชุ่มชื่นหัวใจ คือ “ต้นไม้และแสงแดด” สำหรับคนที่อาจจะมีพื้นที่เล็กๆ อย่างคอนโดหรือตึกแถว ต้นไม้และแสงธรรมชาตินี่แหละช่วยคุณได้ ถ้าอยากทำอะไรสนุกๆ ก็อาจจะลงทุนสักหน่อย ทำระบบโซล่าเซลล์ไปต่อกับโคมไฟน่ารักๆ แค่นี้ก็สุขแล้ว ปัจจุบันมีเทคโนโลยี มีของเล่นให้เราลองเยอะแยะ ไม่จำเป็นต้องพึ่งสถาปนิกหรืออินทีเรียร์เสมอไป

อ่านต่อ
WEEK 37
10-16 ก.ย.

“สุพรรณา จันทร์เพ็ญศรี”

KITIYA

การซ่อมบำรุงคือฟังก์ชั่นนึงของบ้าน ในฐานะเจ้าของบ้าน เราต้องเป็นคนรู้ดีที่สุดว่าน้ำมาทางไหน ไฟเข้าทางไหน ถ้าจะมีสถาปนิกมาออกแบบจุดเซอร์วิสให้คุณ ควรต้องให้เขาออกแบบในลักษณะที่ “มนุษย์ปุถุชนเข้าถึงได้” ท่อแตกคุณปิดวาล์วได้ ไฟเสียเปลี่ยนเองได้ ทั้งนี้ก็เพื่อความสะดวกสบายในการใช้งานของคุณเอง

อ่านต่อ
WEEK 36
3-9 ก.ย.

“เผดิมเกียรติ สุขกันต์”

PADIRMKIAT

เราสามารถใช้ “ไม้” เป็นองค์ประกอบของบ้านได้ในหลายกรณี ทั้งนี้ต้องรู้จักคุณลักษณะของไม้ว่า “ยืดหดได้” ตามสภาพภูมิอากาศ คายความร้อนเร็ว และเมื่อนำมาเรียงต่อกันก็สามารถทำให้เกิดทั้งส่วนทึบและส่วนโปร่งได้ สามารถนำมาทำ ผนัง ช่องลม ที่บังแดด หรือแม้กระทั่งพื้นชานที่ อีกทั้ง ก็ยังสามารถมาพัฒนาแพทเทิร์นการจัดเรียงใหม่ให้อยู่ในรูปแบบของบ้านโมเดิร์นได้เช่นเดียวกัน

อ่านต่อ
WEEK 35
27 ส.ค.-2 ก.ย.

“ธโนกร หวังพีระวงศ์”

TANOKORN

ปล่อยให้มี “พื้นที่โล่ง” ในบ้านบ้าง เพื่อทำให้เกิดความรู้สึกผ่อนคลาย ไม่ใช่ว่าจะต้องมีฟังก์ชั่นอัดแน่นเต็มไปทุกพื้นที่!! แสงและลมจะช่วยสร้างความรู้สึกที่เปลี่ยนไปเวลาเราเปลี่ยน Space จากพื้นที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง

อ่านต่อ
WEEK 34
20-26 ส.ค.

“ณัฏฐวุฒิ พิริยประกอบ”

NUTTHAWUT

เรื่อง “การใช้วัสดุ” ในงานออกแบบตกแต่ง...คนชอบแบ่งแยกว่าอันนั้นอันนี้คืออะไร เช่น นี่เป็นวัสดุก่อสร้างนำมาใช้ตกแต่งไม่ได้ แต่ผมว่าเราไม่ควรไป “ให้คำจำกัดความวัสดุ” ว่าอะไรต้องใช้ทำอะไร เช่น สังกะสีปกติใช้เป็นหลังคา แต่มันก็ไม่ได้หมายความว่าเราต้องไปทำอย่างนั้นก็ได้นี่ เราจะนำไปแต่งผนังก็ได้ มันสามารถพลิกแพลงการใช้งานได้หมด เพื่อให้การแต่งบ้านดูน่าสนุกขึ้น

อ่านต่อ
WEEK 33
13-19 ส.ค.

“กิติยา สุขพุ่ม”

KITIYA

การเลือกเฟอร์นิเจอร์ สำหรับแต่งบ้าน ที่สำคัญเลยคือ “ต้องมีความนั่งสบาย” เพราะบ้านเป็นสถานที่ที่เราใช้งานอยู่ตลอดเวลา เมื่อนั่งแล้วรู้สึกผ่อนคลาย สามารถนั่งแล้วเอนตัวได้ เอกเขนกได้ ไม่ใช่ต้องนั่งหลังตรงตลอดเวลา จุดหลักในการเลือกใช้เฟอร์นิเจอร์ เราต้องดูเรื่องสัดส่วนที่เหมาะสมเป็นสำคัญ

อ่านต่อ
WEEK 32
6-12 ส.ค.

“จุลสมโณ พงษ์เสฐียร”

JULSAMANO

คนไทยมักเคยชินกับการวางอะไรติดผนัง ซึ่งเป็นความเชื่อที่ฝังรากลึกมาก แต่ผมว่าอะไรที่วางติดผนัง ถ้าลองขยับออกมา จะทำให้เกิด Circulation ใหม่ที่เปลี่ยนไป และได้พื้นที่ใช้สอยก็เปลี่ยนไปด้วย แต่ทั้งนี้ก็ต้องตอบสนองผู้ใช้งานด้วย

อ่านต่อ
WEEK 31
30 ก.ค.-5 ส.ค.

“ณัฐพงศ์ เพียรเชลงเอก”

NATTAPONG

Lighting เป็นเรื่องสำคัญ...“การเลือกแสงไฟ” มาใช้ในบ้าน หนึ่งเลยคุณต้องคุมเรื่อง Mood & Tone ของบ้านให้ได้ ซึ่งหลักการง่ายๆ คือ หลอดที่เลือกมาใช้ ปกติแสงจะมีอุณหภูมิอยู่ที่ 2,000-4,000 K เป็นอย่างน้อย ซึ่งบ้านควรจะต้องเป็นแสงเดียวกันจึงจะไม่ดูหลอกตาหรือแปลกตา คือให้อุณหภูมิแสงเท่ากัน แต่ความเข้มของแสงก็แตกต่างกันไปไป เช่น บนโต๊ะอาจสว่างกว่าที่พื้น จะได้ไม่ดูสว่างหรือฟุ้งไปหมดเหมือนในร้านสะดวกซื้อ

อ่านต่อ
WEEK 30
23-29 ก.ค.

“กานต์ ศิวภุชพงษ์”

KAN

การแก้ปัญหาฝ้าเตี้ย ถ้าเป็นงานประเภท “ที่พักอาศัย” เส้นตั้งจะช่วยให้ดูสูงได้ แนะนำว่าในการเลือกเฟอร์นิเจอร์ควรเลือกดีไซน์ที่ค่อนข้างแบนหน่อย คือไม่ต้องสูงมาก เพื่อให้รู้สึกว่าเวลานั่งไปแล้ว จะเห็น Space ในอากาศเยอะขึ้น

อ่านต่อ
WEEK 29
16-22 ก.ค.

“ภชพน ทองพิมพ์”

PHOTCHAPHON

การกำหนดว่าอะไรคือ “พระเอกหรือพระรอง” ในพื้นที่ ไม่มีอะไรตายตัว แต่อย่างง่ายสุดคือ ตามฟังก์ชันของพื้นที่นั้นๆ เช่น ถ้าเป็นห้องนั่งเล่น อะไรที่ควรจะเด่น? ก็คืออะไรที่เกี่ยวกับฟังค์ชั่นของห้อง อาจเป็นชุดโซฟาหรือชุดทีวีที่เจ้าของบ้านอยากโชว์ หรือเป็นพร็อพในห้องนั้น ทั้งนี้ ก็แล้วแต่ Space ด้วย บางห้องมี Double Volume มีผนังด้านนึงเป็นผืนใหญ่ อาจจะใส่พระเอกของเราไปตรงนั้นก็ได้

อ่านต่อ
WEEK 28
9-15 ก.ค.

“สิทธนา พงษ์กิจการุณ”

NOTT

อาคารพาณิชย์มักจะถูกนำมาปรับปรุงเป็นโฮสเทล ซึ่งก็จะมีปัญหาในแง่ที่ว่า “ทุกห้องของโรงแรมอยากได้แสงสว่าง” ดังนั้น ห้องที่อยู่ข้างในเราก็ต้องหาวิธีจัดการ เช่น อาจปรับใช้เป็นฟังก์ชั่นที่ไม่ต้องการแสงมาก อย่างห้องประชุมหรือห้องเก็บของ ส่วนห้องที่เป็น Priority ที่แสงต้องเข้าถึง คือ ห้องพัก และโถงทางเข้า เราก็ต้องจัดสรรหรือเขยิบพื้นที่ออกไปเพื่อให้ได้แสงเข้าถึงข้างในได้มากที่สุด

อ่านต่อ
WEEK 27
2-8 ก.ค.

“ธาวิน หาญบุญเศรษฐ”

THAWIN

“การเลือกชุดเฟอร์นิเจอร์ให้มีภาษาของตัวเอง” จะช่วยสร้างเอกลักษณ์ในตัวงานมากขึ้นกว่าการเลือกเฟอร์นิเจอร์ที่ถูกใจทุกตัว “แต่ไม่มีภาษาที่สอดคคล้องกัน” เพราะถ้าเราเลือกแต่ละตัวจากที่เราชอบเป็นหลัก ในที่สุดแล้วอาจจะไม่เข้ากันหรือแย่งกันเด่น จนทำให้งานออกแบบดูล้นและไม่ชัดเจน

อ่านต่อ
WEEK 26
25 มิ.ย.-1 ก.ค.

“คมสัน สกุลอำนวยพงศา”

KHOMSAN

ผมให้ความสำคัญกับ “พื้นที่เปิดโล่ง” หรือ “พื้นที่สีเขียว” ผมเชื่อว่า มันจะมีบางวันที่เราเหน็ดเหนื่อยมาจากอะไรบางอย่างในชีวิตแล้วเรากลับมา เราจะเจอกลับ Space ที่มันไม่ได้ช่วยเราเลย คือถ้าในภาวะอารมณ์ปกติ ผมมองว่าเราอยู่ใน Spaceนั้นได้ แต่ในบางภาวะ ที่เราต้องการให้ Spaceช่วยเราอีกนิดนึง เยียวยาเราอีกหน่อย สีเขียวช่วยได้ เสียงน้ำช่วยได้ หรือแค่เพียงระเบียงมุมเล็กๆ ก็ช่วยได้

อ่านต่อ
WEEK 25
18-24 มิ.ย.

“รัฐภรณ์ สุชาตานนท์”

BOOM

“ปัญหาความร้อน” ร้อนเหมือนกันแต่คาแรคเตอร์ไม่เหมือนกัน แดดทิศใต้จะทำมุมสูง เครื่องมือในการแก้ปัญหา ที่เหมาะสม คือการทำชายคายื่นยาวหรือการใช้ระแนงแนวนอน ส่วนแดดทิศตะวันตกซึ่งทำมุมต่ำ ควรใช้ระแนงแนวตั้ง เพื่อให้เกิดการเหลื่อมของแสงจะช่วยป้องกันแสงแดดได้มากกว่า ดังนั้นการแก้ปัญหาความร้อนของแดดจะใช้เครื่องมือเดียวกันไม่ได้ แต่ต้องเลือกใช้ให้เหมาะสมกับปัญหาและสภาพพื้นที่

อ่านต่อ
WEEK 24
11-17 มิ.ย.

“เชาว์วัฒน์ กิตติธรกุล”

CHAOWAT

บ้านเป็นสิ่งที่จะอยู่กับเราไปอีกนาน ฉะนั้น ความชอบของเราวันนี้อาจไม่ได้ตัดสิน “สิ่งที่ควรจะเป็นจริงๆ” เราควรต้องเอาความชอบในทั้งช่วงชีวิตของเรา หรืออะไรที่ “งามแบบไร้กาลเวลา” อันนั้นต่างหากคือสิ่งที่เราควรไปหา ผมคิดว่า “บ้านไม่ควรเป็นอะไรที่ฉาบฉวย” ไม่ควรเป็นอะไรที่อิงไปกับกระแสเทรนด์มากๆ เช่น สีนี้กำลังมานะ ต้องรีบหยิบมาใช้ ผมว่าแบบนั้นไม่ใช่ไอเดียของ “บ้าน”

อ่านต่อ
WEEK 23
4-10 มิ.ย.

“พรชัย ชัยโชติวาณิช”

PORNCHAI

พื้นที่เล็กก็ Luxury ได้ โดยเลือกใส่กระจกหรือวัสดุที่มีความมันเงา และโทนสีที่ไม่ดูทึบเกินไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพื้นที่นั้นๆ ว่าต้องการได้อารมณ์ประมาณไหน เช่น ถ้าเป็นห้อง Family Room ชั้นล่าง ก็อาจจะให้มีความสนุกสนาน มีสีสันหน่อย แต่ถ้าเป็นห้องที่ชั้นสองก็อาจให้ดูอบอุ่นหน่อย เพราะกำลังจะนอนแล้ว สีก็ต้อง Deep Tone ลงมานิดนึง เช่น น้ำเงิน เทา เป็นต้น

อ่านต่อ
WEEK 22
28 พ.ค.-3 มิ.ย.

“สุรัตน์ พงษ์สุพรรณ์”

SURAT

คนที่กำลังสร้างบ้าน นอกจากเตรียมเงินแล้ว คุณต้องเลือกเนื้อคู่ (สถาปนิก) ก่อน!! เพราะไม่ใช่ว่าทุกคนจะทำงาน ร่วมกันได้... เจ้าของบ้านกับสถาปนิกเองต้องทำงานร่วมกัน ฉะนั้นแล้ว คุณต้องรู้จริตของคุณให้ได้ว่าจริตคุณเป็นแบบไหน แล้วก็เลือกให้ถูกจริตของตัวเอง อันนี้คืออันดับแรก ที่ควรทำก่อนสร้างบ้าน (คือหาเนื้อคู่ที่คุยกันรู้เรื่อง)

อ่านต่อ
WEEK 21
21-27 พ.ค.

“ณฤชา คูวัฒนาภาศิริ”

NARUCHA

ถ้าอยากให้บ้าน “ซ่อมบำรุงง่าย” แม้ไม่ได้มีสถาปนิกมาช่วยวางระบบตั้งแต่แรก คุณก็สามารถทำได้หลายประเด็น เช่น หลังคา ก็แค่มีฝ้าเซอร์วิสซึ่งทำให้ซ่อมบำรุงจากข้างล่างได้สะดวก หรือท่อน้ำ ควรให้เดินท่อข้างบนทั้งหมด เพราะเวลาท่อแตกจะมีแรงดัน เราจะได้เห็นรอยน้ำบนฝ้า และควรออกแบบให้มีวาล์วปิดน้ำเป็นจุดๆ แต่ละห้องไปเลย ก็จะทำให้ช่างสามารถไปซ่อมได้ง่ายขึ้น

อ่านต่อ
WEEK 20
14-20 พ.ค.

“คำรน สุทธิ”

KHAMRON

“การได้สัมผัสธรรมชาติ” เป็นเหมือนการสร้างพลังชีวิต บ้านเหมือนเป็นที่ชาร์ตแบต เราตื่นมาแล้วหายใจได้เต็มปอด “อยู่แล้วรู้สึกมีความสุข” ผมว่า “บ้านต้องเป็นประมาณนี้” ฉะนั้นจึงควรออกแบบบ้านให้มีความเป็นธรรมชาติเข้ามา คือ ให้คน บ้าน ธรรมชาติได้มีความสัมพันธ์กันเป็นเรื่องเดียวกัน

อ่านต่อ
WEEK 19
7-13 พ.ค.

“ไพทยา บัญชากิติคุณ”

PHAITHAYA

สิ่งที่ควรมองหาเวลา “เลือกซื้อคอนโด” นอกจากทำเลแล้ว แนะนำให้ดูความน่าเชื่อถือของ Developer ก็เป็นสิ่งสำคัญ เพราะสร้างความมั่นใจได้ว่าโครงการที่เราซื้อ จะได้รับการพัฒนาและก่อสร้างได้เสร็จสมบูรณ์ ส่วนในเชิงดีไซน์แนะนำให้ดูผังห้องพักให้ละเอียดเหมาะสมกับ Lifestyle ของเรา

อ่านต่อ
WEEK 18
30 เม.ย.-6 พ.ค.

“เอกสิทธิ์ แจ้งอ่างหิน”

EKKASIT

หลายคนมักคิดว่าถ้าพื้นที่เล็ก ก็ต้องไปใช้ “กระจก” มากั้นหรือตกแต่ง แต่การใช้กระจกนั้น จะนำไปวางมั่วๆ ไม่ได้ เพราะคุณสมบัติของกระจก คือ “การสะท้อน” ซึ่งหมายถึงมันสามารถสะท้อนทั้งความว่างเปล่าและความยุ่งเหยิงได้ด้วย ดังนั้นต้องดูว่าเราควรนำไปวางตรงไหน? เพื่อให้สะท้อนอะไร?

อ่านต่อ
WEEK 17
23-29 เม.ย.

“เฉลิมพล สมบัติยานุชิต”

CHALERMPON

“บ้านที่อยู่...ไม่ใช่บ้านตัวอย่าง” ที่ต้องพร้อมสมบูรณ์ไปหมดทุกสิ่ง ดีไซน์เนอร์ควรออกแบบตกแต่งเท่าที่จำเป็น แล้วที่เหลือก็ปล่อยให้เจ้าของบ้านแต่งเติมพื้นที่นั้นด้วยตัวเอง เพราะเขาจะรู้ว่าเขาอยากได้อะไร คือมันควรมีพื้นที่ให้เจ้าของบ้านรู้สึกสนุกกับพื้นที่ของตัวเอง

อ่านต่อ
WEEK 16
16-22 เม.ย.

“ศันสนีย์ ประดิษฐ์กุล”

SANSANEE

“อยู่ทาวน์โฮมแต่ได้อารมณ์เหมือนบ้านเดี่ยว” สิ่งสำคัญคือ “ช่องเปิด” เพราะทาวน์โฮมโดยมากจะมีผนังทึบสองด้าน พื้นที่แน่น ช่องเปิดน้อย ถ้าทำเป็นห้องนอน 2 ห้อง ห้องน้ำตรงกลางก็มืดแล้ว ดังนั้นเราอาจจะเจาะช่อง, เปิดเป็น Court, ทำหลังคา Skylight หรืออะไรที่สร้างพื้นที่ตรงนั้นให้ดูมีแสงธรรมชาติเพิ่มเติมได้ จะช่วยลดความรู้สึกอึดอัดของทาวน์โฮมให้น้อยลงได้

อ่านต่อ
WEEK 15
9-15 เม.ย.

“อรรณพ ศิริกิตติกุล”

ANOP

การเลือกเฟอร์นิเจอร์สำหรับพื้นที่ส่วนกลาง ผมว่า “โซฟา” เป็นพระเอกในพื้นที่นี้ ควรเลือกโซฟาที่แน่นพอดี ไม่ยุบย้วย มีความสูงพอดี ถ้าเตี้ยเกินไปผู้สูงอายุจะลุกนั่งลำบากคือคำว่า “พื้นที่ส่วนกลาง” มันควรต้องเอื้อกับคนทุกช่วงวัยในบ้าน และผมมักแนะนำให้ลูกค้าเลือกเฟอร์นิเจอร์ Masterpiece สักอันมาใส่ เพื่อให้ดูเป็นงานศิลปะในพื้นที่ เวลาที่เข้าไปใช้งานคุณจะได้สัมผัสกับสุนทรียะในพื้นที่ด้วย

อ่านต่อ
WEEK 14
2-8 เม.ย.

“สราวุฒิ ปาทาน”

SARAWUT

ถ้าคิดจะเปลี่ยนหรือเพิ่มเติมอะไรลงไปเพื่อเติมความสดใสให้บ้านเก่า ก่อนอื่นผมขอแนะนำให้คุณตัดสินใจ “ทิ้งของ” บางอย่างให้ลงเสียก่อน!! สังเกตไหมว่าบ้านที่อยู่มานานมันจะเริ่มไม่เป็นระเบียบ เพราะมันเต็มไปด้วยข้าวของมากมาย ดังนั้นก็ต้องกล้านำสิ่งที่ไม่ใช้ออกและหลังจากนั้นแล้วคุณจะรู้เองว่า คุณอยากเอาอะไรเข้ามาหรือควรทำอะไรกับพื้นที่นั้นต่อไป

อ่านต่อ
WEEK 13
26 มี.ค.-1 เม.ย.

“รุ้งนภา โดร์มิเออ”

ROONGNAPA

สัดส่วนการผสมของวัสดุและผิวสัมผัส Texture หลักควรใช้ที่ 60 % ขึ้นไป เช่น วัสดุเดียวกันควรเลือกแบบที่มี Texture คล้ายๆ กัน ส่วนวัสดุที่ต่างกัน เราสามารถเปลี่ยนสเกลของ Texture ได้ เช่น Texture หลักเป็นแบบหยาบ อีก 20% ก็ใช้เป็น Texture ละเอียด เพื่อช่วยให้งานตกแต่งไม่น่าเบื่อจนเกินไป

อ่านต่อ
WEEK 12
19-25 มี.ค.

“ธฤต ทศไนยธาดา”

THARIT

ถ้าจะทำห้องเล็กให้อยู่สบาย แนะนำให้เปิดพื้นที่เพื่อยืม Space ของห้องต่างๆ มาใช้ร่วมกัน เช่น ห้องนอนชั้น 2 เปิดประตูบานเลื่อนไปยืมพื้นที่ของห้องนั่งเล่นที่ชั้น1 ทำให้พื้นที่กลายเป็น Duplex เล็กๆ คือ ให้ทุกห้องเชื่อมกัน มองเห็นกันได้ เหมือนยืม Space ซึ่งกันและกัน แม้เราจะอยู่ในห้องเล็กๆ พอเปิดหน้าต่างออกไปเชื่อมพื้นที่กัน มันก็จะให้ความรู้สึกว่า “ไม่เล็ก” แล้ว

อ่านต่อ
WEEK 11
12-18 มี.ค.

“อยุทธ์ มหาโสม”

AYUTT

บ้านหลายหลัง ชอบเอาต้นไม้หรือสวนไว้ข้างนอก ข้อเสียคือ เวลาเราอยู่ในบ้านจะแทบไม่เห็นต้นไม้เลย เราเลยคิดมุมกลับโดยเอาต้นไม้เข้ามาอยู่ในบ้าน ในห้องนั่งเล่น ห้องน้ำ ห้องนอน เพราะเรามองว่าในเมื่อคุณจ่ายเงินสร้างขึ้นมาแล้ว ทุกห้องในบ้าน“ควรจะได้เห็นมัน” ...คุณควรได้ดื่มด่ำกับบ้านและกับเงินที่จ่ายไป

อ่านต่อ
WEEK 10
5-11 มี.ค.

“ปัทมา พรภิรมย์”

PATTAMA

Waste Space คือ พื้นที่ที่เราไม่อยากให้เกิดขึ้นในบ้านเพราะเป็นพื้นที่จุดอับของตัวบ้าน มันจะทำให้ลามมาถึงเรื่องของการระบายอากาศด้วย เช่น ปลายทางเดิน ซึ่งแทนที่จะปล่อยให้ดูมืดๆ ตันๆ ไม่น่าเดิน เราก็สามารถแก้ด้วยการออกแบบให้มีแสงพาดเข้ามาที่ผนังตรงนั้น

อ่านต่อ
WEEK 9
26 ก.พ.-4 มี.ค.

“ทวีศักดิ์ วัฒนาวารีกุล”

THAWEESAK

เรื่องการเลือกเฟอร์นิเจอร์ ถ้าคุณเป็นคนมี Sense ด้านดีไซน์ดี คุณจะเลือกหยิบของที่ดูไม่เข้ากันมาใช้ก็ได้นะครับ แต่สำหรับคนทั่วๆ ไป แนะนำให้คุณสนุกกับการเลือกดีไซน์ที่มันเข้ากันมาก่อนดีกว่าในช่วงเริ่มต้น เพื่อค่อยๆ เรียนรู้กับการมิกซ์แอนด์แมตช์ แล้วคุณก็จะสามารถเลือกสีที่ดูไม่เข้ากันแต่มันก็จะลงตัวได้ในภายหลัง

อ่านต่อ
WEEK 8
19-25 ก.พ.

“ปานดวงใจ รุจจนเวท”

PARN

อยากทำ Inner Court ควรมีพื้นที่ขั้นต่ำสัก 4x4 เมตร แต่จริงๆ ก็ขึ้นอยู่กับสัดส่วนของบ้านด้วย “การปลูกต้นไม้ในบ้าน” หากต้องการปลูกเป็นไม้ยืนต้น ก็ควรจะต้องมีแสงที่เพียงพอ มีระบบรดน้ำและการระบายน้ำ คือจะต้องมีระบบที่รองรับเรื่องการดูแลต้นไม้ด้วย รวมถึงไฟส่องสว่างต้นไม้ตอนกลางคืน เพื่อช่วยสร้างบรรยากาศของบ้านให้ดูอยู่ขึ้น

อ่านต่อ
WEEK 7
12-18 ก.พ.

“เจษฎ์สุภา พิพัฒนสุภรณ์”

KATE

ห้องเล็กทำยังไงให้ดูใหญ่? อาจใช้กระจกเข้ามาช่วย โดยใช้ผนังกระจกใสมาเป็นตัวกั้นห้องแทนผนังทึบและเลือกใช้เฟอร์นิเจอร์ที่มีสัดส่วนเล็กหน่อยหรือแบบที่ทำจากวัสดุโปร่ง เช่น แก้วใส อะคริลิค ที่มีความมันวาวมาใช้แทนวัสดุทึบๆ ตันๆ ส่วนการใช้สีสัน ถ้าห้องเล็กก็น่าจะใช้ Neutral Tone เพื่อช่วยหลอกตาให้ Space ดูกว้างและโปร่งโล่งขึ้น

อ่านต่อ
WEEK 6
5-11 ก.พ.

“อศิ เชิดวิวัฒนสินธ์”

ASI

เมื่อก่อน “ล็อบบี้” โรงแรมอาจมีขนาดใหญ่ มีไว้เช็คอินและให้แขกนั่งคอย แต่จริงๆ เราสามารถเพิ่มมูลค่าให้พื้นที่นี้เป็นมากกว่าแค่ Waiting Area โดยลดขนาดให้เล็กลง แล้วออกแบบพื้นที่ส่วนหนึ่งเป็น Co-working space ให้บุคคลภายนอกมาเช่าใช้บริการ เพื่อทำให้พื้นที่ตรงนี้กลายเป็นอีกแหล่งสร้างรายได้หนึ่งของโรงแรม

อ่านต่อ
WEEK 5
29 ม.ค.-4 ก.พ.

“บุตรีญา รวมธรรมรักษ์”

Nuii

หลักการออกแบบ Universal Design ให้ความสำคัญกับระยะต่างๆ ในการจัดวางเฟอร์นิเจอร์ คือ ถ้าเป็นผู้สูงอายุอาจจะต้องมีอุปกรณ์ช่วยเดินหรือรถเข็น ก็ควรจัดพื้นที่ทางสัญจรให้กว้างเพียงพอไม่ให้เกิดการติดขัด และควรคำนึงถึงระดับของพื้นในอาคาร และอุปกรณ์ช่วยพยุงต่างๆ

อ่านต่อ
WEEK 4
22-28 ม.ค.

“ชนิดาภา มาประณีต”

ALLY

การทำ Co-Working Space ในออฟฟิศ คือ การมีโต๊ะทำงานที่ไม่ได้มีใครเป็นเจ้าของ อาจจะเพิ่มทางเลือกเป็นโซฟาให้นั่งทำงานด้วยก็ได้ค่ะ เพื่อให้ความรู้สึกผ่อนคลายในการทำงานมากขึ้น ซึ่งก็เป็นฟังก์ชั่นที่ถูกใจคนรุ่นใหม่ เพราะช่วยให้เขารู้สึกว่า บรรยากาศมันดูสร้างสรรค์ขึ้นกว่าการนั่งอยู่ในสภาพแวดล้อมแบบเดิมๆ ทุกวัน

อ่านต่อ
WEEK 3
15-21 ม.ค.

“ณุสุระ ปัทมดิลก”

NUSURA

“ที่จอดรถ” คือ ประตูบ้านด่านแรก ไม่ใช่แค่ที่จอดรถและเก็บของ แต่มันคือพื้นที่แรกที่เราต้องเจอเมื่อกลับถึงบ้าน เราไม่ควรต้องเบียดตัวเองในมุมมืดๆ อับๆ และมีแต่คราบน้ำมัน...ผมว่าถ้าเราใช้ที่จอดรถให้เป็นประโยชน์ได้มากกว่านี้ เราจะมีประตูบ้านที่ใหญ่ที่สุดในโลก

อ่านต่อ
WEEK 2
8-14 ม.ค.

“พีรเดช นรเศรษฐกร”

KENG

สิ่งสำคัญของการทำ Hotel คือ 1.First Impression 2.Facilities 3.Infrastructure หลักรอบๆ ส่วนเรื่องการตกแต่ง ผมว่าภายในห้องควรแต่งให้น้อย ส่วนตัวผมแต่งน้อยแต่ผมยอมจ่ายเพื่อฟูกแพงๆ เพื่อให้คนที่จะมาพักเขามีความสุข

อ่านต่อ
WEEK 1
1-7 ม.ค.

“วรรณภัทร เจนพานิชการ”

PLY

ถ้าอยากนอนหลับสนิท แนะนำให้ใช้ม่านทึบ (Blackout) ซึ่งเป็นม่านที่จะปิดได้มืดสนิท Trick คือวางซ้อนกันนิดนึง ทั้งส่วนที่ซ้อนกันตรงกลางและข้างๆ (กรณีที่เป็นม่านสองอัน) โดยเหลื่อมกัน 15 ซม. ซึ่งเป็นระยะที่จะช่วยบังแสงได้ดีที่สุดค่ะ

อ่านต่อ
WEEK 52
24-31 ธ.ค.

“ภารดี เสนีวงศ์ ณ อยุธยา”

PARADEE

ทุกแบรนด์สร้างคุณภาพของตัวเองได้โดยไม่ต้องตะโกนผ่านงานดีไซน์สเกลใหญ่ยักษ์ที่อาจใช้เวลาทำแรมเดือน แต่ใช้งานไม่กี่ชั่วโมงแล้ว “ทิ้ง”

อ่านต่อ
WEEK 51
17-23 ธ.ค.

“กานต์ธิดา ทิพกานต์กุล”

GALE

การมี “โฮมอโรม่า” ในบ้าน มันทำให้เกิดความรู้สึกผ่อนคลาย คือ "การแต่งบ้าน" มันไม่ใช่แค่ความสวยงามที่ตา แต่เป็นเรื่องประสาทสัมผัสด้านอื่นๆ ด้วยค่ะ

อ่านต่อ
WEEK 50
10-16 ธ.ค.

“อาณัติ รุ่งรัศมีวัฒนกุล”

ANAT

เรามักเคยชินกับการวางเตียงนอนชิดผนัง แต่จริงๆ แล้วการเขยิบเตียงนอนมาวางให้ห่างจากผนังหรือวางกลางห้อง แล้วทำฉากหรือตู้ด้านหลังให้มันอยู่ได้ ผมว่ามันก็ดูน่าสนใจดี

อ่านต่อ
WEEK 49
3-9 ธ.ค.

“สรกิจ กิจเจริญโรจน์”

SORAKIT

ผมให้ความสำคัญกับ “พื้นที่ส่วนกลาง” ที่ทุกคนในบ้านจะมาเจอกัน เราต้องรู้ว่าอะไรเป็นความต้องการที่สมาชิกแต่ละคนอยากได้ร่วมกัน ก็จับเอาสิ่งนั้นมาสร้าง Space มันจะกลายเป็นพื้นที่ที่ทุกคนสามารถมาทำกิจกรรมร่วมกันได้อย่างมีความสุข

อ่านต่อ
WEEK 48
26 พ.ย.-2 ธ.ค.

“ผกามาศ นิธิพงษ์”

BOOM

วัสดุนึงที่กำลังอินเทรนด์ตอนนี้ คือ Terrazzo หรือหินขัดค่ะ ถ้าไปตามร้านตามคาเฟ่ เราก็จะเห็นเขาใช้วัสดุนี้ เยอะขึ้นค่ะ ถ้าจะเลือก Terrazzo ไปทำพื้น ควรเลือกแพทเทิร์นที่มีตัวเม็ดหินใหญ่หน่อยไม่งั้นมันจะแตกร้าวได้ค่ะ ถ้าเลือกลายที่ไม่ได้มีสีมากราคาจะถูกกว่าหินจริง และให้ความรู้สึกคล้ายๆ หินแกรนิต

อ่านต่อ
WEEK 47
19-25 พ.ย.

“ธนัทเกียรติ จงเกรียงไกร”

TANATKIAT

ถ้าคิดจะปรับปรุงบ้าน ให้ลองจดรายการความต้องการออกมา และถ้าหากมีงบประมาณที่จำกัดให้โฟกัสพื้นที่ที่สำคัญและมีการใช้งานมากที่สุดก่อน จากนั้นให้ดูแปลนบ้านเดิมว่าสามารถขยายหรือปรับปรุงโดยมีผลกระทบกับโครงสร้างหรือไม่ และจึงดูเรื่องรูปแบบที่ต้องการ วัสดุที่ชอบ อาจจะลองทำแผนงานออกมาให้ชัดเจน

อ่านต่อ
WEEK 46
12-18 พ.ย.

“วศิน มหาพล”

VASIN

เวลาติดตั้งแอร์ ผมจะค่อนข้างใส่ใจกับงานระบบ เช่น การวางตำแหน่งคอยล์ร้อนของแอร์ คือจะให้มันไปเรียงรวมกันอยู่ที่ระเบียงทั้งหมดซึ่งมันก็จะเปลืองค่าท่อนิดนึง แต่มันก็ทำให้เกิดความสวยงามและมีจุดเซอร์วิสที่เดียวจบ ซึ่งผมจะทำแบบนี้กับบ้านทุกหลัง ใครที่มีบ้านอยู่แล้วจะเอาไปลองทำก็ได้ครับถ้าทนไหวกับค่าท่อ

อ่านต่อ
WEEK 45
5-11 พ.ย.

“ไกรพล ชัยเนตร”

KRAIPOL

ถ้าอยากเพิ่มเรื่องแสงเงาให้กับบ้าน อย่างแรกคือทำให้บ้านโล่งที่สุดเท่าที่จะโล่งได้ เพราะความโล่งทำให้เกิดความสงบได้มากขึ้น สองคือถามตัวเองว่ากิจกรรมไหนคือสิ่งที่ฉันชอบ เพราะการจะทำให้บ้านโล่งได้แปลว่าเราต้องเลือกที่จะตัดทอนบางอย่างที่ไม่จำเป็นหรือไม่ใช่ตัวตนของเรา แล้วก็ดึงพื้นที่กิจกรรมนั้นไปใกล้แสงธรรมชาติให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้

อ่านต่อ
WEEK 44
29 ต.ค.-4 พ.ย.

“พลวิทย์ รัตนธเนศวิไล”

PONWIT

เติม Gimmick ให้บ้านจัดสรร...ผมว่าน่าจะทำได้ง่ายๆ ด้วยการใส่ Lounge Chair หรือเก้าอี้เอนหลังได้เข้าไป มันจะน่านั่ง จับมันกระจายไปตามจุดที่ไม่มีคนไปใช้งาน ผมว่ามันจะมีคนไปใช้ มันจะดึงให้คนเข้าไปทำอะไรสักอย่างตรงนั้นได้ เราใช้เซ็ตที่นั่งนี่แหละในการกำหนดกิจกรรมที่จะเกิดขึ้นในส่วนต่างๆ ของบ้านได้

อ่านต่อ
WEEK 43
22-28 ต.ค.

“ศิริทิพย์ หาญทวีวงศา”

SIRITIP

ถ้ามีบางห้องที่โดนแดดเยอะอาจจะลองเลือกต้นไม้ที่มีรูปทรงเหมาะกับการบังแดดในแต่ละทิศมาช่วย เพราะบ้านเป็นอาคารที่ไม่ได้สูงมาก เราใช้ต้นไม้มาช่วยก็อาจจะทำให้อยู่สบายขึ้นได้ อย่างทิศใต้ ควรเลือกต้นไม้ที่มีลำต้นสูงเพื่อให้ลมเข้ามาได้แต่มีทรงพุ่มแผ่กว้างเพื่อบังแดด หรือทิศตะวันตกก็เลือกไม้พุ่มหนาหน่อยจะได้บังแดดมุมต่ำๆ ได้

อ่านต่อ
WEEK 42
15-21 ต.ค.

“อินทนนท์ จันทร์ทิพย์”

INTANON

เวลาออกแบบบ้านให้ลูกค้า ผมจะหวง “กำแพง” มาก เพราะรู้ว่าคุณจะได้ใช้มันแน่นอน ไม่ว่าจะเป็นการใช้เก็บของไปจนถึงการประดับประดาให้สวยเวอร์ชั่นไหน เรื่อง “กำแพง” กลายเป็นเรื่องที่ต้องคุยกันดีๆ ถ้าจะทำกำแพงด้านนั้นให้เป็นหน้าต่างก็ต้องเป็นหน้าต่างที่ให้ผลกระทบระหว่างข้างในกับข้างนอกให้มันเต็มที่ที่สุด ให้มีลมผ่านดีที่สุด เพื่อให้ผู้อยู่อาศัยได้รับอากาศใหม่เข้ามาหมุนเวียนในห้องอยู่เสมอ

อ่านต่อ
WEEK 41
8-14 ต.ค.

“จิณัฏฐ์ภัค เกียรติวุฒินนท์”

JINA

ปัญหาของบ้านที่มีพื้นที่มาก คือ สมาชิกในบ้านไม่ค่อยคุยกัน ทุกคนจะไปหาที่เหมาะๆ แล้วก้มหน้าเล่นมือถือ เฟอร์นิเจอร์จะเข้ามาตอบโจทย์ตรงนี้ได้ โดยเลือกใช้เฟอร์นิเจอร์แบบ Oversize จากโซฟาที่นั่งได้สองคน ลองปรับเป็น L Shape หรือ U Shape เพื่อทำให้คนนั่งหันมองหน้ากัน มันช่วยเรื่องของความสัมพันธ์ในครอบครัวได้มากขึ้น

อ่านต่อ
WEEK 40
1-7 ต.ค.

“ณัฐฐารัตน์ เทียนขาว”

BOBI

ถ้าพูดถึงฮวงจุ้ยกับงานออกแบบตกแต่ง สิ่งสำคัญที่อยากบอกคือ คุณควรพาซินแสเข้ามาก่อนที่อินทีเรียร์ดีไซน์เนอร์จะเข้า ไม่ควรพาซินแสเข้ามาหลังจากงานอินทีเรียร์เสร็จแล้ว เพราะมันจะะแก้ไม่ได้ อาจทำให้คุณเสียเงินเปล่าไปกับสิ่งที่ทำไปแล้วและต้องรื้อทีหลัง

อ่านต่อ
WEEK 39
24-30 ก.ย.

“หัสมา จันทรัตนา”

FARSAI

การเลือกเฟอร์นิเจอร์ไปแต่งออฟฟิศ ควรเน้นที่ความหลากหลายผู้งานจะได้ไม่เบื่อ เช่น โต๊ะเก้าอี้ อาจไม่ต้องมีดีไซน์เหมือนกัน เพื่อให้มันสร้างความแตกต่างในแต่ละพื้นที่ หรือถ้าเป็นสถานที่ทำงานแบบ Co-working space เราก็อาจเลือกเป็นเก้าอี้คละแบบ แต่โทนสีเดียวกัน ดีไซน์ไปด้วยกัน อะไรทำนองนี้ก็จะทำให้บรรยากาศในการทำงานมีความสนุกขึ้นค่ะ

อ่านต่อ
WEEK 38
17-23 ก.ย.

“กอบชัย ลิมปนเทวินทร์”

GOLF

เมื่อจะเลือกซื้อเฟอร์นิเจอร์เข้าบ้าน ควรตั้งต้นที่ “ขนาด” ที่มันเหมาะกับห้องก่อน...ขนาดห้องเราเท่านี้โซฟาแค่นี้พอ เวลาไปเดินเลือกก็อย่าเลือกให้มันเกินนี้ แม้ว่ามันจะสวย จะโปรโมชั่นดีก็เถอะ เพราะโดยมากเรามักจะเลือกของที่มันใหญ่เสมอ เพราะรู้สึกว่าคุ้มกับที่จ่าย แต่สุดท้ายพอเอามาลงที่บ้าน ขนาดมันอาจไม่โอเคกับพื้นที่ของเรา อันนั้นแหละมันจะมีปัญหา

อ่านต่อ
WEEK 37
10-16 ก.ย.

“ปิยภาค วัฒนศรีมงคล”

PIYAPAK

สำหรับใครที่เป็นเจ้าของธุรกิจ ถ้าคุณคิดอยากจะเปิดร้าน อย่างแรกสุดเลยคือ คุณควรไปทำความรู้จักหรือทำการบ้านกับสินค้าของตัวเองก่อน จุดแข็งจุดอ่อนอยู่ตรงไหน และควรเปิดใจบอกกับดีไซน์เนอร์ถึงข้อดีข้อเสียนั้นเพื่อช่วยกันอุดรูรั่ว

อ่านต่อ
WEEK 36
3-9 ก.ย.

“ปวินท์ ศุภศรี”

EM

ลองเลือก “ของตกแต่ง” ที่มีดีไซน์เหมือนของเล่นมาแต่งบ้าน คือมันใช้ประโยชน์ได้มากกว่าแค่การวางไว้เฉยๆ เวลาเพื่อนมาบ้าน ก็หยิบออกมาเล่นได้ หรือจะวางไว้เฉยๆ ก็สวย มันเหมือน Gimmick ที่ทำให้บ้านเราดูสนุกขึ้น

อ่านต่อ
WEEK 35
27 ส.ค.-2 ก.ย.

“วรรวณิชย์ จิตรประทักษ์”

PIN

ใครที่ชอบหิวตอนดึกๆ แนะนำให้ทำ “มินิบาร์” ไว้ที่ชั้นสองหรือในห้องนอนใหญ่ เหมือนแบบที่มีในโรงแรม แล้วก็ทำลิ้นชักสำหรับเก็บจานและช้อนเล็กๆ น้อยๆ ไว้ด้วย...การมีฟังก์ชั่นแบบนี้ จะช่วยทำให้คุณสะดวกมากขึ้นเวลาที่รู้สึกหิวตอนดึกๆ จะได้ไม่ต้องเดินลงไปที่ครัวชั้นล่างค่ะ

อ่านต่อ
WEEK 34
20-26 ส.ค.

“วรนล สัตยวินิจ”

WORANOL

การวางผังให้บ้านอยู่ตรงกลางและมีพื้นที่สวนล้อมรอบ จะทำให้คุณได้สวนที่แคบไปเสียทุกด้าน ดังนั้น อีกทางเลือกหนึ่งที่จะทำให้มีพื้นที่สวนกว้างขึ้น คือ การวางตัวบ้านให้ชิดมาทางด้านหน้าเพื่อเปิดด้านหลังให้เป็นสวนแทน แต่ถ้าหลังบ้านเป็นวิวที่ไม่โอเค ก็อาจวางผังให้ตัวบ้านปิดล้อมพื้นที่ด้านหน้าและด้านหลัง แล้วเปิดพื้นที่ตรงกลางให้เป็นสวนก็ได้

อ่านต่อ
WEEK 33
13-19 ส.ค.

“ศุภรัตน์ ชินะถาวร”

SUPARAT

กฎข้อแรกในการเปิดร้านอาหาร คือ กินให้เยอะ !!! ถ้ากินไม่เยอะอย่าเพิ่งเปิดร้าน!!! ถ้ายังไม่ถึงขั้นที่จะเข้าใจเรื่อง “หลังบ้าน” ดีพอ ก็อย่าทำ “หน้าบ้าน”...ไปอยู่หลังบ้านก่อน ไปเป็นพนักงานหรือเป็นผู้ช่วยก่อนจะออกมาด้านหน้า

อ่านต่อ
WEEK 32
6-12 ส.ค.

“สิวิชัย อุดมวรนันท์”

SIVICHAI

เวลาจะซื้อบ้านจัดสรร อย่าดูแค่ “บ้านตัวอย่าง” (ที่เขาแต่งเต็ม) เพราะมันจะสวยมาก!! แนะนำให้ลองไปดู “บ้านเปล่า” ที่ยังไม่มีเฟอร์นิเจอร์ด้วย เพื่อจะได้รู้ว่าของจริงโครงการเขาให้อะไรคุณบ้าง จะได้ไม่โดนหลอกตาไปกับ Space สวยๆ

อ่านต่อ
WEEK 31
30 ก.ค.-5 ส.ค.

“พัชรดา หอมสุวรรณ”

NOON

สำหรับใครอยากให้บ้านสัมผัสกับธรรมชาติมากที่สุด เวลาวางผัง แทนที่จะปลูกต้นไม้ไว้หน้าบ้านตามรูปแบบเดิมๆ ลองเปลี่ยนมาสร้างบ้านเป็นรูปตัว L (แอล) หรือตัว U (ยู) แล้วแทรกสนามหรือต้นไม้เข้าไป จะทำให้บรรยากาศของบ้านโปร่งสบาย ได้แสงธรรมชาติเข้ามามากขึ้น

อ่านต่อ
WEEK 30
23-29 ก.ค.

“ณัฐวุฒิ ชัยนะเลิศวงศ์”

TOB

ในบ้านยังมี “เศษของพื้นที่” ที่คุณอาจลืมไป เช่น พื้นที่ชั้นบนสุดที่มีฝ้าเตี้ยๆ ถ้าคุณลองขยับฝ้า ยกโครงหลังคาขึ้นอีกนิด มันจะทำให้คุณได้พื้นที่ใช้สอยเพิ่ม...มันเป็น Space ที่มองไม่เห็น แต่สร้าง Value ให้การใช้ชีวิตของคุณได้

อ่านต่อ
WEEK 29
16-22 ก.ค.

“จิรายุ คุ้มทรัพย์”

MAX

เรื่องแต่งบ้าน ส่วนตัวผมมองว่าเราไม่จำเป็นต้องทำอะไรตามเทรนด์ เพราะเทรนด์มันมา...เดี๋ยวมันก็ไป คุณควรเลือกอยู่กับสิ่งที่คุณชอบ มันจะโอเคกว่า เพราะคุณจะอยู่กับมันไปได้เรื่อยๆ

อ่านต่อ
WEEK 28
9-15 ก.ค.

“กฤษณ์พงศ์ เกียรติศักดิ์”

KRIS

ห้องนอนสำหรับคู่แต่งงาน ต้องออกแบบให้ “อยู่แล้วไม่หย่า” คือ ไม่ใช่ว่าพอคนนึงตื่นขึ้นมาใช้ห้องน้ำ กดชักโครกแล้วเสียงดัง หรือลุกขึ้นมาแต่งตัว แล้วเปิดไฟ อาบน้ำ เป่าผม ทำให้เกิดเสียงดัง ไฟแยงตา มันสร้างความหงุดหงิดให้อีกคนได้ มันเป็นฟางเส้นเดียว ที่อาจทำให้เกิดความร้าวรานในครอบครัวได้

อ่านต่อ
WEEK 27
2-8 ก.ค.

“ภุชงค์ อารักษ์เวชกุล”

PUCHONG

ผมให้ความสำคัญกับ Space Planning เพื่อให้ผู้ที่เข้าไปใช้งาน “อยู่สบายและได้ฟังก์ชั่นใช้สอยที่ตรงใจ” การวางผังห้องเป็นเรื่องสำคัญ ตรงไหนควรกว้างแคบเท่าไหร่ หรือจะมีกิจกรรมอะไรเกิดขึ้นบ้าง มันจะทำให้เราตอบโจทย์ลูกค้าได้ชัดเจนมากขึ้น

อ่านต่อ
WEEK 26
25 มิ.ย.-1 ก.ค.

“ติณณภัทร์ แก้วเมือง”

OHM

ผมให้ความสำคัญกับเรื่อง “ความสะอาด” เพราะบ้านคือ Living Space ผมเจอเพื่อนหลายคนเป็นภูมิแพ้โดยไม่รู้ตัว ผมบอกเขาว่า ให้กลับไปเช็คก่อนเลยว่า บ้านสะอาดหรือเปล่า?

อ่านต่อ
WEEK 25
18-24 มิ.ย.

“เกียรติระบิล เตชะวณิช”

OAK

สำหรับงานออกแบบตกแต่งประเภทที่อยู่อาศัย...ถ้าคุณคิดว่า คุณจะไม่รื้อไม่ทุบอะไรเลยกับบ้าน ผมว่าคุณไม่ต้องมาหาผมหรอก เพราะผมเป็น “มือระเบิด” ชั้นดี (หัวเราะ)

อ่านต่อ
WEEK 24
11-17 มิ.ย.

“ธนาฒย์ จันทร์อยู่”

PRO

ผมเชื่อว่าการที่คนเราจะสามารถอยู่ได้แบบเป็นมนุษย์ที่สุด คือ การอยู่ร่วมกับธรรมชาติ เช่น ได้ปลูกต้นไม้ ได้เห็นการเติบโตของมัน ได้รับรู้ว่าวันนี้ฝนตก แดดออก ได้รับรู้ถึงสิ่งมีชีวิตอื่นๆ มันสร้างความสุขและความสบายใจบางอย่าง ผมคิดว่า “อันนี้คือชีวิต”

อ่านต่อ
WEEK 23
4-11 มิ.ย.

“พิพิธ โค้วสุวรรณ”

OAK

สำหรับคนที่ชอบแต่งบ้านด้วยวัสดุธรรมชาติ ผมอยากให้คุณเรียนรู้อย่างนึงว่า มันจะมีความเสื่อมไปตามธรรมชาติ คุณอาจต้องเข้าใจ “ความงามในความเสื่อมไป” ของมันด้วย

อ่านต่อ
WEEK 22
28 พ.ค.-3 มิ.ย.

“ญารินดา บุนนาค”

YARINDA

เวลาที่จะออกแบบบ้าน ควรต้องตั้งคำถามกับตัวเองดีๆ ว่าจริงๆ แล้ว เราเป็นคนยังไง กิจวัตรประจำวันเป็นยังไง ใช้เวลาอยู่บนเฟอร์นิเจอร์ชิ้นไหนมากที่สุด พอเราเข้าใจตัวเอง มันจะเป็นตัวชี้นำที่ชัดเจนกว่าที่จะคิดฟังก์ชั่นคร่าวๆ แค่ว่าสองห้องนอนสองห้องน้ำ

อ่านต่อ
WEEK 21
21-27 พ.ค.

“เอกภาพ ดวงแก้ว”

Ekaphap

ในฐานะที่เป็นสถาปนิก งานของผมไม่ใช่แค่การออกแบบอาคารหรืองานตกแต่งภายใน แต่คือ “การสร้างประสบการณ์การอยู่อาศัย”

อ่านต่อ
WEEK 20
14-20 พ.ค.

“ลลิดา ลีละยูวะ”

Lalida

สิ่งสำคัญคือ ทำยังไงก็ได้ให้ลูกค้ารู้สึกมีความสุขและทีมงานของเราก็มีความสุขด้วย ถ้าทั้งวงจรของการทำงานมันเกิด energy ที่ดีแล้ว มันก็จะกระจายไปทั่ว ทำให้การทำงานต่างๆ ดำเนินไปได้ด้วยดี

อ่านต่อ
WEEK 19
7-13 พ.ค.

“จิรายุทธ แซ่โหว”

Pao

ส่วนตัวผมให้ความสำคัญกับ ห้องน้ำ ห้องแต่งตัว และห้องครัว เพราะเป็นห้องที่เราใช้บ่อย ผมถูกสอนมาว่า สิ่งที่ยากที่สุดในงานอินทีเรียร์ คือ ห้องน้ำ...ผมจะบอกน้องๆ ในทีมเสมอว่า “ห้องน้ำ” เป็นตัววัดความประณีตและความตั้งใจของคุณ

อ่านต่อ
WEEK 18
30 เม.ย.-6 พ.ค.

“สุธิดา ตันติ์พิพัฒน์”

Suthida

ถ้าอยากแต่งบ้านเอาใจภรรยา ต้องให้ความสำคัญ กับ “พื้นที่แต่งตัว” ค่ะ กระจกต้องมี ! แสงต้องมา ! พยายามให้ได้ แสงธรรมชาติมากที่สุด หรือถ้าไม่มีแสงธรรมชาติก็ต้องจัดให้ มีแสงส่องจากข้างหน้าไม่ใช่ข้างบน

อ่านต่อ
WEEK 17
23-29 เม.ย.

“พลัช ไพนุพงศ์”

ITH

เวลาออกแบบตกแต่งห้อง ผมจะไม่ทำให้ออกมาดูเป็น สไตล์เดียวกันไปทั้งหมด ผมจะชอบมีอะไรสัก 1 ชิ้น เพื่อสร้างความ contrast ให้หลุดเข้าไป ทำให้งานตกแต่งดูสนุกขึ้น เช่น ห้องน้ำ สไตล์วินเทจ ผมอาจจะเลือกก๊อกที่ดูโมเดิร์นไปเข้าสร้าง gimmick ที่น่าสนใจ

อ่านต่อ
WEEK 16
16-22 เม.ย.

“อภิสิทธิ์ ตันสกุล”

API

แม้บ้านจะเต็มไปด้วยเฟอร์นิเจอร์ชิ้นสวยราคาแพง แต่หากขาดสิ่งที่สะท้อนความเป็นตัวคุณ เราจะรู้สึกเหมือนเดินเข้าไปในโชว์รูมเฟอร์นิเจอร์มากกว่าเดินเข้า “บ้านของเรา”

อ่านต่อ
WEEK 15
9-15 เม.ย.

“โกญจนาจ ทององอาจ”

Bank

งานออกแบบที่มีมูลค่า มักใช้งบตกแต่งประมาณ 30% ของราคาบ้าน ไม่งั้นงานจะไม่สวย เพราะได้เฟอร์นิเจอร์ไม่แน่น ไม่เต็ม...กฎของการออกแบบสไตล์นี้คือ ของดีไม่มีถูกนะครับ

อ่านต่อ
WEEK 14
2-8 เม.ย.

“อนุพร อัมพุช”

A

เวลาจะทำห้องนอนให้ลูก พ่อแม่มักเริ่มต้นด้วยการคิดถึงฟังก์ชั่น “ที่ตัวเองคิดว่าจำเป็น” สำหรับเด็กๆ ...แต่ผมอยากบอกว่า คุณพ่อคุณแม่ควรเริ่มต้นจากการคุยกับลูกก่อน

อ่านต่อ
WEEK 13
26 มี.ค.-1 เม.ย.

“ภูวสิษฐ์ ทวีฤทธิ์ธนวงษ์”

Bhuwasit

จริงๆ การจะตกแต่งบ้านให้ดูหรูหรานั้น ไม่จำเป็นต้องใช้ budget เยอะก็ได้ สำคัญคือต้องใช้ space ให้สวยก่อน คืออย่าทำให้เส้นสายในแนวตั้งและแนวนอนของห้องดูระเกะระกะ และพยายามตบของที่รกๆ ให้หายไปให้หมด

อ่านต่อ
WEEK 12
19-25 มี.ค.

“ปิติ เพชรดำ”

Piti

สำหรับบ้านจัดสรร ตอนซื้อบ้านมาใหม่ๆ อยากแนะนำว่าอย่าเพิ่งจัดบ้าน ผมอยากให้คุณลองไปเดิน ไปอยู่ก่อนสัก 1-2 อาทิตย์ เพื่อไปสัมผัสสภาพแวดล้อมจริงที่มันเกิดขึ้นตรงนั้น และเพื่อให้รู้ว่าคุณคุ้นเคยกับตรงไหน ชอบอยู่ตรงไหน

อ่านต่อ
WEEK 11
12-18 มี.ค.

“กุลพงษ์ คงคติธรรม”

Pea

สำหรับใครที่คิดจะรีโนเวทบ้าน ก่อนตัดสินใจทำ ผมแนะนำให้ถามใจตัวเองให้ดีๆ ก่อนว่า คุณจะอยู่ตรงนี้ยาวหรือเปล่า? และควรต้องให้สถาปนิกกับวิศวกรวิเคราะห์โครงสร้างเดิมด้วย ไม่ใช่นึกอยากทำอะไรก็ทำ

อ่านต่อ
WEEK 10
5-11 มี.ค.

“วัฒนา โกวัฒนาภรณ์”

Abalance

ไม่ว่าห้องจะถูกตกแต่งออกมาให้สวยแค่ไหน...แต่มันจะไม่สวยสมบูรณ์ถ้าขาด “คนใช้งาน” มันเหมือนกับห้องมันขาดชีวิต ถ้าเราออกแบบมาแล้วผู้ใช้งานหรือผู้อยู่อาศัยเขาชอบเขารัก และทำให้เขามาใช้พื้นที่นั้นบ่อยๆ เป็นประจำ ผมถือว่า อันนี้คือความสำเร็จในงานออกแบบตกแต่งของผม

อ่านต่อ
WEEK 9
26 ก.พ.-4 มี.ค.

“สุพัฒน์พงศ์ พงษ์ชมพร”

Supatpong

เวลาผมวาง Space ผมจะไม่มองว่า มันเป็นห้องหรือเป็นกรอบ ผมจะมองเรื่องการเชื่อมพื้นที่ทั้งในแนวนอน (ด้านหน้า ด้านข้าง) และแนวตั้ง (ด้านบน – ล่าง) เพื่อไม่ให้เกิดกรอบ ทำให้รู้สึกว่าห้องโปร่งไม่แคบและผู้อยู่อาศัยก็จะรู้สึกผ่อนคลายไม่ถูกบีบรัด

อ่านต่อ
WEEK 8
19-25 ก.พ.

“เจษฎา คลังเพ็ชร”

Phai

ความสนุกและความท้าทายในการทำงานของเขา คือ การที่ได้แก้ปัญหาและจัดเรียง “ความต้องการที่ฟุ้ง” ของลูกค้าให้เป็นสัดส่วนในแบบที่มันควรจะเป็น

อ่านต่อ
WEEK 7
12-18 ก.พ.

“เบญญาภา ศิริโสภณ”

Air

การออกแบบตกแต่งภายในเป็นงานศิลปะ งานทุกชิ้นที่ออกมา เราต้องการออกแบบไม่ให้ซ้ำกับงานอื่น ทุกชิ้นจะต้องมีจุดเด่นที่เป็นเอกลักษณ์ ซึ่งหล่อหลอมขึ้นมาจากตัวตนของลูกค้าและบริบทของสภาพแวดล้อม

อ่านต่อ
WEEK 6
5-11 ก.พ.

“บดินทร์ พลางกูร”

Ton

งานออกแบบที่เน้นการเชื่อมโยงกับ “บริบท” โดยรอบ สะท้อนให้เราเห็นถึงเอกลักษณ์ดีไซน์ที่ถูกสอดประสานเข้ากับอัตลักษณ์ของผู้อยู่อาศัยไว้ได้อย่างกลมกลืม รวมถึงบ่งบอกถึงตัวตนและแนวคิดในการทำงานของอินทิเรียร์ดีไซน์เนอร์หนุ่มผู้ก่อตั้ง Context Studio ได้เป็นอย่างดี

อ่านต่อ
WEEK 5
29 ม.ค.-4 ก.พ.

“พณัญญา อาภรณ์เอี่ยม”

Prae

มีคอนโดไว้ลงทุน จะทำยังไงให้ปล่อยเช่าได้ไวเว่อร์ ! ต้องถามคุณแพร เจ้าของ Restory Interior บริษัทรับออกแบบตกแต่งคอนโดเพื่อการลงทุนและคอนโดเพื่อการอยู่อาศัย

อ่านต่อ
WEEK 4
22-28 ม.ค.

“วรพจน์ เสริมสุขรัตนกุล”

Ake

ความท้าทายอีกอย่างคือ ทำยังไงให้เจ้าของบ้านรู้สึกว่า เสียเงินแล้ว...เขาได้ในสิ่งที่เขาต้องการมากที่สุด เพราะงานออกแบบไม่ใช่ของเรา แต่มันเป็นของคนที่เขาต้องอยู่หรือใช้ชีวิตในนั้น เรามีหน้าที่ปรับเปลี่ยนตัวเองให้สอดคล้องกับรายละเอียดและความต้องการของลูกค้า...ซึ่งผมถือว่าเป็น Content ที่แท้จริงของงานออกแบบ

อ่านต่อ
WEEK 3
15-21 ม.ค.

“ณัฎฐา สุนทรวิเนตร์”

Jules

แนวคิดในการทำงานด้านการออกแบบของเราคือ ต้องจริงใจในการเลือกสิ่งที่ดีที่สุดให้ลูกค้า และใส่ใจในรายละเอียดความต้องการของลูกค้า ซึ่งเราจะให้เวลามากเป็นพิเศษกับการคุยเพื่อดึงข้อมูลจากลูกค้า

อ่านต่อ
WEEK 2
8-14 ม.ค.

“สุรเชษฐ์ พยัคฆ์น้อย”

Kung

Signature ในการออกแบบตกแต่งของผม คือ การสร้างแลนด์มาร์คให้กับห้อง โดยผมจะจัดหาหรือจัดทำเฟอร์นิเจอร์ชิ้นใดชิ้นหนึ่งให้ดูโดดเด่นหรือแปลกตา เพื่อสร้างจุดสนใจและชวนสะดุดตาให้กับห้องนั้นๆ ครับ

อ่านต่อ
WEEK 1
1-7 ม.ค.

“ภควดี พะหุโล”

Kat

แคทอยากให้ลูกค้ามีส่วนร่วมในการออกแบบ อยากให้คนที่อยู่ในพื้นที่ที่เราออกแบบมีความสุขและดื่มด่ำกับบรรยากาศนั้น ส่วนเราก็มีความสุขที่ได้ออกแบบด้วย

อ่านต่อ