รินระดา นิโรจน์

WEEK 41 : 8-14 ต.ค.
52 Weeks of Design

ABOUT HER

“สามสิ่งที่จะถูกคิดไปพร้อมกันเสมอ เวลาที่เราจะออกแบบบ้าน คือ Architecture,  Interior และ Landscape เพราะปัจจุบันขอบเขตของแต่ละงานเริ่มเบลอขึ้นเรื่อยๆ และกำลังกลืนเข้าเป็นเรื่องเดียวกัน เราเชื่อว่าการมองให้รอบด้านจะทำให้ได้งานที่ดีและยั่งยืนค่ะ” สัปดาห์นี้ ชวนมาฟังแนวคิดดีๆ เกี่ยวกับการออกแบบตกแต่งกับ คุณแก้ว - รินระดา นิโรจน์ แห่ง GLA Design Studio

 หลายคนอาจรู้สึกว่าเรื่อง Landscape เป็นเรื่องข้างนอก แต่จริงๆ แล้ว Landscape เป็นมากกว่าแค่การจัดสวนเพื่อความสวยงาม  มากกว่าแค่พื้นที่สีเขียวหรือวิว  แต่เป็นสิ่งที่สามารถช่วยแก้ปัญหาพื้นที่ให้เราได้ในหลายๆ เรื่อง เช่น พื้นที่ที่เราอาจใช้งานได้ไม่เต็มที่ ถ้าได้รับการออกแบบที่ดี เราก็สามารถทำให้พื้นที่ภายนอกกลายเป็นส่วนหนึ่งของบ้านได้ เหมือนกับว่าเรามี “ห้องข้างนอก” ให้สามารถใช้ประโยชน์ได้มากกว่าแค่การออกมานั่งดูสวน ซึ่งปกติหลายคนอาจมองว่า “สวน” ก็คือแค่ “ดินกับต้นไม้” แต่แก้วมองว่าไม่ใช่นะคะ...แต่คือ “พื้น-ผนัง-เพดาน” เหมือนกัน เพียงแต่เรามี เพดานเป็นท้องฟ้า – มีผนังเป็นต้นไม้ – มีพื้นเป็นดิน หญ้า Hardscape หรืออะไรก็ได้ โดยเราสามารถทำให้พื้นที่ตรงนี้กลายเป็นห้องห้องหนึ่งที่อยู่ภายนอกบ้านและใช้งานได้  ซึ่งก็จะทำให้เกิดความคุ้มค่าของ Space มากยิ่งขึ้น  ไม่ว่าพื้นที่ภายนอกจะน้อยหรือมากขนาดไหน หากคุณไม่ใช้ มันก็ไม่มีประโยชน์  ขณะเดียวกัน แม้จะเหลือที่ดินเพียงนิดเดียว แต่เลือกที่จะปลูกผักหรืออะไรที่ให้ความเขียวหรือมีพื้นที่ซับน้ำ ก็จะเป็นสิ่งหนึ่งที่ช่วยแก้ปัญหาได้เยอะมากมาก ทั้งนี้เราควรต้องปรับนิสัยหรือพฤติกรรมการอยู่อาศัยของเราด้วย คือเราควรต้องเอาตัวเองออกมาพื้นที่ข้างนอกบ้าง มาเจออย่างอื่นบ้าง แล้วบ้านจะน่าอยู่ขึ้นค่ะ

ซึ่งเวลาที่ออกแบบ อย่างที่บอกว่าเราจะคิดทั้ง 3 ส่วน ไปพร้อมๆ กัน  ไม่ได้มองแยกส่วนกัน ไม่ใช่ว่าทำโครงสร้างแล้วจะไม่คิดถึง Space ใช้สอย จริงๆ แล้วงาน Interior อาจเริ่มก่อนด้วยซ้ำ เพราะเราต้องดูว่าคุณใช้ชีวิตในบ้านยังไง ซึ่งจะทำให้เรื่องของ Space Planning ในการตกแต่งภายในมาก่อน แล้วนำไปสู่ Form ของ Architecture ทั้งนี้ งานของเราส่วนมากจะไม่เน้นเรื่อง Decorative แต่จะเน้นเรื่องของ Function, การสร้าง Space และนำไปสู่ Form และ Texture ของวัสดุเป็นหลักสำคัญค่ะ  โดยเริ่มต้นจาก เราต้องดึงความชอบของลูกค้าออกมาก่อน แล้วค่อนมาแปลเป็นภาษาดีไซน์ ด้วยการนำฟังก์ชั่นๆ มาทำให้เกิดรูปทรงในแบบที่เราถนัด

อย่างโปรเจค Mahanakhon ซึ่งเป็นคอนโดขนาดเกือบ 300 ตร.ม. ด้วยความที่วิวเขาแพง เราก็คิดว่าจะใช้ประโยชน์กับวิวของเขาอย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุด เราจึงออกแบบให้ทุกอย่างแทบจะเรียบไปกับตัว Space เลย  และในเมื่อวิวที่มีนั้นสวยอยู่แล้ว ในส่วนของงานออกแบบก็ควรทำทุกอย่างให้ Low Profile คือเรียบร้อยที่สุด ให้ดีเทลต่างๆ ไปเกาะอยู่ตามพื้นและผนัง เราจะไม่ทำอะไรให้ขึ้นมาบังวิวเลย  และเราคิดว่าต้องการนำวิวภายนอกนั้นเข้ามาอยู่ในงานออกแบบของเราด้วย จึงเลือกที่จะใช้วัสดุอย่าง “กระจก” ไปประดับตกแต่งด้านข้างเตียง เพื่อช่วยส่องสะท้อนวิวที่สวยงามจากภายนอกให้ไหลเข้ามาอยู่ภายในด้วย หรืออย่างในห้องนั่งเล่น ซึ่งมีโซฟาแบรนด์ดังระดับโลกที่เจ้าของรู้สึกภาคภูมิใจ เราก็เลือกที่จะใช้กระจกเป็น Surface ของตู้เตี้ย เพื่อที่เวลาเขานั่งดูทีวี เขายังได้เห็นภาพสะท้อนของสิ่งที่เขาภูมิใจ ส่วนผนังเราก็ไม่ได้ต้องการโชว์ว่ามันเป็นแค่ชั้นวางทีวี แต่เราออกแบบให้มันกลืนไปกับตัวห้อง โดยเลือกใช้เป็นผนังหินอ่อนสีดำ ทำให้ผนังกลายเป็น Feature Wall อันหนึ่งของห้องไปเลย  

ทั้งนี้ การที่เราทำงานได้ทั้ง 3 ส่วน (Architecture, Interior, Landscape) ทำให้เวลาทำงาน เราสามารถควบคุมทุกอย่างให้จบในตัวได้ อย่างเวลาทำตกแต่งภายใน เราก็ไม่ได้มองแค่ภายในห้อง เพราะห้องย่อมมีกระจก พอเรามองออกไป เราก็จะคิดว่าเราอยากเห็นอะไร เราก็จะไปให้ทาง Landscape ช่วยสร้างวิวให้หน่อย เพราะในความเป็นจริง คือคนที่อยู่อาศัยข้างในก็ต้องมองออกไปข้างนอก ส่วนคนข้างนอกก็ต้องมองเข้ามาข้างใน คือมันมีความสัมพันธ์กันอยู่ในแง่ของการใช้งาน อย่างโปรเจค Siri House ซึ่งเป็นบ้านที่มีช่องเปิดเยอะมาก ไม่ว่าจะอยู่ข้างนอกหรือข้างในก็เห็นกันหมด เวลาที่ใช้ชีวิตอยู่ข้างในบ้าน ไม่ว่าจะห้องนั่งเล่น ห้องทานข้าว ห้องแพนทรี แทบทุกห้องสามารถมองเห็น “สวน” ได้หมด พื้นที่ภายนอกและภายในถูกกั้นด้วยกระจกใส เพราะเราอยากให้พื้นที่ทั้งสองส่วนดูเป็นห้องเดียวกัน เราใช้พื้นที่ข้างนอกเป็นวิวของข้างใน และพื้นที่ข้างในก็เป็นวิวของข้างนอก เป็นการใช้ประโยชน์พื้นที่ได้เกิดประโยชน์สูงสุด  Maximize และบริเวณ Court ยังเป็นพื้นที่ใช้งานได้ สำหรับงานปาร์ตี้หรือกิจกรรมเอ้าท์ดอร์ต่างๆ เปรียบเหมือนเป็น Extension หรือส่วนต่อขยายของงาน Interior          

ส่วน Façade หน้าบ้าน...จริงๆ พื้นที่ตรงนั้นเป็นระเบียง ซึ่งส่วนมากบ้านทั่วไป เราจะเห็นว่าเป็นระเบียงเปิดโล่ง แต่บ้านในกรุงเทพฯ ถ้าเปิดไปแล้วไม่เจอวิวดีๆ เราก็สร้างวิวของเราขึ้นมาเองได้ โดยเราใส่ต้นไม้เข้าไป เพราะนอกจากจะใช้เป็นสกรีนกันแดด ช่วยกรองแสงได้ชั้นนึงแล้ว สีเขียวของต้นไม้ก็จะทำให้ผู้อยู่อาศัยมีสุขภาพจิตดีขึ้น การได้เห็นต้นไม้ เห็นสีเขียว มันให้ความรู้สึกสดชื่นค่ะ ซึ่งส่วนตัวมองว่า Green Façade ลักษณะนี้ เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจสำหรับคนเมือง ถ้าใครไม่มีพื้นที่ปลูกต้นไม้ใหญ่ เราก็สามารถปลูกแบบเล็กๆ ได้

เวลาที่เราออกแบบบ้าน เรามุ่งเน้นเรื่อง “ความอยู่สบาย” ค่ะ แต่คำว่าว่าอยู่สบายในที่ในที่นี้ ไม่ได้มีความหมายแค่ในเชิงกายภาพพื้นฐาน เช่น บ้านเย็น อากาศถ่ายเทดี ซึ่งเรามองว่าเป็นเรื่องพื้นฐานที่สถาปนิกจะต้องออกแบบให้เป็นอย่างนั้นอยู่แล้ว แต่คำว่า “อยู่สบาย” ที่เราคิด คือ ความเหมาะกับเจ้าของหรือผู้อยู่อาศัย เช่น เขาสบายกับสีนี้ แต่อึดอัดกับสีนั้น ในขณะที่คนทั่วอาจมองเห็นสีนั้นๆ แล้วไมได้รู้สึกอะไร แต่เรื่องเหล่านี้เป็นรายละเอียดส่วนตัวที่เกี่ยวข้องกับการใช้ชีวิต เป็นความรู้สึกส่วนตัว ที่จะนำไปสู่ความรู้สึกของการอยู่อาศัยที่สบายหรือไม่สบายได้เช่นเดียวกัน

สิ่งหนึ่งที่อาจจะเรียกได้ว่าเป็น Signature ในการออกแบบของเรา น่าจะเป็นเรื่องของเส้นในการดีไซน์ที่จะค่อนข้างเรียบง่าย ไม่ซับซ้อน เราชอบ Regular Form ที่ดูเรียบง่าย ไม่หวือหวาเหมือน Organic Form เพราะเรารู้สึกว่ามันมันเป็นรูปทรงขั้นพื้นฐานของสรรพสิ่งในธรรมชาติที่พาเรากลับมาสู่พื้นฐานของความรู้สึกที่เป็นปกติ เป็นความธรรมดา โดยเราจะไม่เน้นการออกแบบบ้านให้ดูหวือหวา ดูเริงร่าหรือมีสีสันมากนัก เพราะเรามองว่าลูกค้าซื้อบ้านมา เพื่อที่จะอยู่กันไปอีก 30 ปี เราต้องทำให้เขาไม่รู้สึกเบื่อ จึงเลือกที่จะที่จะใส่อารมณ์ของความสงบ ความสบายเข้าไป เพื่อให้รู้สึกว่าเป็น “บ้าน” เพื่อการพักผ่อนจริงๆ

RINRADA

  • การเลือกเฟอร์นิเจอร์เป็นเรื่องค่อนข้างสำคัญ เพราะเฟอร์นิเจอร์นั้นจะมาเป็นพระเอกของห้อง และเป็นสิ่งที่อยู่กับเราไปอีกนาน ไม่ใช่แค่ 2-3 เดือน แต่เป็นหลักสิบปี ไม่ใช่อะไรที่จะเปลี่ยนได้บ่อยๆ เรามักจะบอกลูกค้าว่า “คุณควรลงทุนกับเฟอร์นิเจอร์” ที่คุณรู้สึกว่าไปลองนั่งลองสัมผัสแล้วชอบ  และควรเป็นเฟอร์นิเจอร์ที่มีมาตรฐาน ซึ่งจากที่เราทำงานมา เราก็รู้ว่าของที่ดีมีคุณภาพ ราคาก็อาจจะมากกว่าของทั่วไปอยู่สักหน่อย แต่มันจะให้อายุการใช้งานทียาวนานกว่าและคุ้มค่ากว่า

Favorite items

SB Design Furniture

Living Inspiration @ SB Design Square

ส่วนมุมนี้ แม้ว่าจะมีการใช้วัสดุโลหะที่ดูหนักแต่ก็ไม่ได้ทำให้ห้องดูแข็งหรือเกร็งจนเกินไป มีการใช้วัสดุหนังสีน้ำตาล และเหล็กสีชา...ซึ่งส่วนตัวแก้วชอบโลหะสีนี้ เพราะดูใช้ได้นาน มันมีความดำและหรูหราระดับหนึ่ง เป็นตัวสีดูไม่โดดเด่นเกินไปแถมยังมีการใช้ม่านโปร่ง ทำให้ได้แสงธรรมชาติมาช่วยทำให้อารมณ์ของห้องดู Soft ลงทันที ให้ความรู้สึกของความหรูหราแต่น่าสบายได้ในเวลาเดียวกัน

ชอบมุมห้องนอนนี้ เพราะสีที่ค่อนข้างคลาสสิคค่ะ ให้ความรู้สึกที่หรูหราแบบไม่โจ่งแจ้งมากนัก ดูแล้วเย็นน่าจะอยู่สบายอยู่ในห้องนี้แล้วรู้สึกว่าผ่อนคลาย และยังมีการนำวัสดุที่มี Texture ธรรมชาติเข้ามา ทำให้ห้องดูนุ่มนวลขึ้นค่ะ

พบกับ Designer ทั้งหมด